ปัจจัยที่มีผลต่อคอนกรีตสด ขึ้นอยู่กับส่วนผสม ได้แก่ ปริมาณน้ำ คุณสมบัติของมวลรวม ชนิดของปูนซีเมนต์ วัสดุที่ใช้ผสมคอนกรีต และสารผสมเพิ่ม นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับระยะเวลา และอิทธิพลจากสภาพแวดล้อมอืนๆ เช่น ความชื้นและอุณหภูมิ
คอนกรีตผสมเสร็จ หมายถึง คอนกรีตที่ถูกชั่ง ตวง ตามสัดส่วนที่ออกแบบไว้ และถูกผสม ที่หน่วยผลิตคอนกรีต และถูกส่งไปยังหน่วยงานก่อสร้างในสภาพที่สด และยังไม่แข็งตัว พร้อมใช้งานได้ทันที
โดยทั่วไปมีวิธีการผลิต 3 วิธี
1.คอนกรีตผสมเสร็จจากหน่วยผลิต (central mixed concrete) เป็นคอนกรีตที่ถูกผสม ให้เสร็จในเครื่องผสมแบบอยู่กับที่ และถูกส่งไปทางรถกวน (Truck Agitator) หรือ รถผสม (Truck Mixer) ที่ใช้ความเร็วรอบหมุนเท่ากับรอบกวนคอนกรีต
2.คอนกรีตที่ผสมเสร็จบางส่วนจากหน่วยผลิต (Shrink-Mixed Concrete) เป็นคอนกรีตที่ถูกผสมเพียงบางส่วน ในเครื่องผสมแบบอยู่กับที่และจะผสมจนเสร็จสมบูรณ์ในรถผสมคอนกรีต
3.คอนกรีตที่ผสมเสร็จด้วยรถผสม (Truck-Mixed Concrete) เป็นคอนกรีตที่ถูกผสมตั้งแต่ต้นจนเสร็จ ในรถผสมคอนกรีต
คุณสมบัติ | ข้อแนะนำ |
คอนกรีต ประเภทนี้ ถูกออกแบบส่วนผสมเพื่อลดการหดตัวของคอนกรีต โดยใช้วัสดุผสมเพิ่มเพื่อชดเชยการหดตัวของคอนกรีต ทำให้คอนกรีตในสภาวะที่ยังไม่แข็งตัวเกิดการขยายตัวไปก่อน |
1. หลีกเลี่ยงการผสมน้ำเพิ่มที่หน้างาน เพราะจะทำให้ส่วนผสมคอนกรีตเกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งส่งผลให้คอนกรีตเกิดการแยกตัว ขณะเทคอนกรีต เกิดปัญหาคอนกรีตเป็นฝุ่นที่ผิวหน้า เกิดปัญหาค่ากำลังอัดต่ำกว่าค่าการรับรอง รวมถึงน้ำส่วนเกินที่ก่อให้เกิดปัญหาคอนกรีตหดตัว 2. ในระหว่างการเทคอนกรีต ควรมีการลำเลียงคอนกรีตอย่างเหมาะสม ไม่ปล่อยคอนกรีตจากที่สูงเพื่อป้องกันการแยกตัวของคอนกรีต รวมทั้งการจี้เขย่าคอนกรีตอย่างเหมาะสม เพื่อให้คอนกรีตเข้าแบบหล่อได้อย่างสมบูรณ์ เป็นเนื้อเดียวกันไม่เกิดรูพรุนเมื่อคอนกรีตแข็งตัวแล้ว 3. หลังจากที่คอนกรีตแข็งตัวแล้ว ควรมีการบ่มคอนกรีตที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำของคอนกรีต ส่งผลให้ลดปัญหา ในเรื่องของการแตกร้าว ของคอนกรีตเนื่องจากการหดตัว และทำให้การพัฒนากำลังอัดคอนกรีตเกิดได้อย่างสมบูรณ์ |
ขั้นตอนการทำงาน | |
คอนกรีต ประเภทนี้ ถูกออกแบบส่วนผสมมาเพื่อใช้กับงานโครงสร้างที่ต้องการการหดตัวของคอนกรีตต่ำ เช่น งานคอนกรีตครอบหัวเสาเข็ม (Pile Cab Concrete) งานเทโครงสร้างถนน โครงสร้างพื้นในบริเวณกว้างๆ |